fbpx

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่ต้องไปให้ได้

ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง ณ บางเลน ที่ต้องจับมือแฟนไปให้ได้
01/25/2020
บะหมี่จับกัง88 อร่อยไม่ต้องไปถึงเยาวราช บางบอน1
01/30/2020

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่ต้องไปให้ได้

เชื่อว่าคนกทม และวัยรุ่นสมัยใหม่ ไม่ค่อยได้เที่ยวสถานที่วัด ส่วนมากจะท่องเที่ยว ทะเล น้ำตก หรือห้างซะมากกว่า วันนี้เราจะไปรีวิวสถานที่ท่องเที่ยวที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารกันครับ

ผมเข้ามาทางด้านหลังที่ไม่ใช่ริมน้ำนะครับ จากสี่แยกบ้านแขกตรงมาจะเจอโรงเรียน ศึกษานารี เลี้ยวซ้าย

โบสถ์จุดแรกที่เข้ามาที่วัดเลย

พระวิหาร วัดอรุณราชวราราม เป็นพระวิหาร ยกพื้นสูง หลังคาลด ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี ฝาผนังประดับด้วยลายก้านแย่งขบวน ไทย เป็นกระเบื้องที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสั่งมาจากเมืองจีน เพื่อจะใช้ประดับฝาผนังพระอุโบสถ แต่ไม่งามสมพระราช หฤทัย จึงโปรดให้นํามาประดับผนังด้านนอกพระวิหารแห่งนี้ ส่วนผนังด้านในเป็นภาพเขียนลายดอกไม้ร่วง มีพระพุทธชมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยาน บพิตร เป็นพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทอง มีประวัติว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้หล่อขึ้นพร้อมกับพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาณมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ ราชวราราม ขณะดํารงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ ได้พบพระบรมสารีริกธาตุ ๔ องค์ ในโกศ ๓ ชั้น คือ เงิน นาค และทอง โดยลําดับ บรรจุอยู่ ภายในพระเศียร

ภายในพระวิหารยังมีพระพุทธรูปสําคัญอยู่อีก ๒ องค์ คือ พระอรุณหรือพระแจ้ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระและผ้าทรงครองทํา ด้วยทองสีต่างกัน หน้าตักกว้างประมาณ ๕๐ ซม. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้อัญเชิญมาไว้ในพระวิหารนี้ ด้วย พระราชดําริว่า นามพระพ้องกันกับวัด”

อีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหน้าตักกว้างประมาณ ๗๐ ซม. เป็นพระพุทธรูปสําริดสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย พระพุทธรูปนี้เดิมอยู่ที่ศาลาการเปรียญเก่าที่ซื้อไปแล้ว มีปูนพอกทั้งองค์ไม่มีบุคคลใดทราบ ภายหลังปูนกะเทาะออกจึงได้เห็นพระพุทธรูปสําริด
– ข้อมูลจากวทางวัด

รูปเอามาจาก Google นะครับตอนไปทางวัดปิดปรับปรุง

พระวิหารและพระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ที่มีขนาดสูง 15 เมตร ยาว 46 เมตร ก่อสร้างในการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แต่เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี พระกนิษฐาต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบาทของพระพุทธไสยาสน์แต่ละข้าง กว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร มีภาพมงคล 108 ประการ เป็นลวดลายประดับมุก ภาพมงคลแต่ละอย่างจะอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยภาพกงจักร ซึ่งอยู่ตรงกลางพระบาท ทั้งสองข้างมีภาพเหมือนกัน
– ข้อมูลจาก Google

ต่างชาติเยอะมากกว่าคนไทยอีก

พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นพระปรางค์สถาปัตยกรรมไทย ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยปรางค์ประธานและปรางค์รองอีก 4 ปรางค์ ตั้งอยู่ที่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ตัวพระปรางค์

ปัจจุบันนี้มิใช่พระปรางค์เดิม ที่สร้างขึ้นราวสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีความสูงเพียง 16 เมตร โดยปรางค์ปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นแทน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. 2363 แต่ก็ได้แค่รื้อพระปรางค์องค์เดิม และขุดดินวางราก ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการสร้างต่อ โดยพระองค์เสด็จมาวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2385 จนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2394 ใช้เวลารวมกว่า 9 ปี



พระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการบูรณะเสมอมา จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำการบูรณะพระปรางค์ครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือแบบที่เห็นในปัจจุบันองค์พระปรางก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นเปลือกหอย กระเบื้องเคลือบ จานชามเบญจรงค์สีต่าง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน เป็นจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งด้วย กินนร กินรี ยักษ์ เทวดา และพญาครุฑ ส่วนยอดบนสุดของพระปรางค์ติดตั้งยอดนภศูล

พระปรางค์วัดอรุณฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ฐาน เรือนธาตุ และเรือนยอด มีสัณฐานดุจเขาพระสุเมรุ ด้วยความกว้างราว 234 เมตร ส่วนตัวเรือนฐานทำการย่อมุมลง และเรือนยอดที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป ในแต่ละชั้นมีช่องรูปกินนรและกินรี เชิงบาตรเหนือช่องมีรูปมารแบกกระบี่แบกสลับกัน เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหารูปพระพายทรงม้า เหนือขึ้นไปเป็นยอดปรางค์มีรูปครุฑยุดนาคและเทพนมอยู่เหนือซุ้มคูหา ส่วนยอดปรางค์เป็นนภศูลปิดทอง

กลุ่มพระปรางค์ประกอบด้วยของปรางค์ประธานซึ่งมีความสูง 67 เมตร และปรางค์ทิศจำนวน 4 ปรางค์ เป็นปรางค์องค์เล็กก่ออิฐถือปูนประดับกระจกเคลือบสีแบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่ ปรางค์ทิศตั้งอยู่มุมทักษิณชั้นล่างของปรางค์องค์ใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ ทิศละองค์

จุดต่อไปเป็นโบสถ์เล็กครับมีพระเจ้าตากสิน และพระอยู่ในโบสถ์น้อยให้กราบไหว้ อีกที่สำคัญครับ

พระรูปพระเจ้าตากสิน
มีพระพุทธรูปหลังโบสถ์
เมื่อออกมาจากโบสถ์น้อยจะเจอ อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๒

อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๒ บริเวณภายในวัดอรุณฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ จนเสร็จ ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ และพระราชทาน พระนามวัดว่า “วัดอรุณราชธาราม”

“ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ ยักษ์กายสีแดง, ยักษ์กายสีเขียว, ยักษ์กายสีเทา และยักษ์กายสีเนื้อ ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป หรือหอไตรจตุรมุข ฃของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

นี่ยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของทางวัดนะครับ มีอะไรที่น่าสนใจอีกมากเลยต้องไปชมกับตาตัวเอง ประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของวัดน่าสนใจมากครับ และสวยงามมาก ผมแนะนำให้นั่งรถไปนะครับเพราะไม่มีที่จอดวันเสาร์อาทิตย์คนจะเยอะมากโดยเฉพาะต่างชาติ เที่ยวให้สนุกครับ ^ ^



คลิกที่หัวใจเพื่อให้คะแนน เป็นกำลังใจในการทำต่อไป

Click on a star to rate it!

0 / 5. Vote count: 0

No votes so far! Be the first to rate this post.

Jaksin Tramsombatjaroen
Jaksin Tramsombatjaroen
ผมเป็นคนถ่ายรูปไม่สวย ไม่มีความรู้การถ่ายภาพเลย แต่อยากเก็บเรื่องราวดีๆจากการได้กินได้เที่ยวใว้ดูเล่น เป็นงานอดิเรก เมื่อแก่ตัวไปไม่มีแรงเที่ยวก็ยังย้อนกลับมาดูความทรงจำต่างๆได้ตลอด นี่แหละที่ทำเว็บนี้ขึ้นมา Tripsabay